วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

❀ ความรู้เบื้องต้นด้านการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว

     การท่องเที่ยวเป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยประจำไปยังแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมธรรมชาติ และคุณค่าทางวัฒนธรรม ซึ่งต้องอาศัยยานพาหนะในการขนส่งไปยังแหล่งท่องเที่ยวนั้นตามความต้องการ

ความหมายของการขนส่งทั่วไป
     พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 กล่าวไว้ว่า
การขน คือ การนำของมาก ๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
การส่ง คือ การยื่นให้ถึงมือ พาไปให้ถึงที่
ดั้งนั้น การขนส่ง จึงหมายถึง การนำไปและการนำมาซึ่งของมาก ๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

     พระราชบัญญัติการขนส่ง 2497 มาตรา 4
การขนส่งหมายถึง การลำเลียง หรือการเคลื่อนย้ายบุคคล หรือสิ่งของด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การขนส่ง ซึ่งหมายถึงยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งรวมทั้งเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ

ลักษณะของการขนส่งทั่วไป
ถ้าเป็นการขนส่งคน เรียกว่า การขนส่งผู้โดยสาร
ถ้าเป็นการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ เรียกว่า การขนส่งสินค้า



ความหมายของการขนส่งผู้โดยสาร
     คือกา่รจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคล ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง ตามความประสงค์ของบุคคลนั้น ๆ

ความสัมพันธ์ 6 ประการ ระหว่างการขนส่งผู้โดยสารกับการท่องเที่ยว
1. การขนส่งผู้โดยสารทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไป-กลับจากแหล่งท่องเที่ยวได้

2. การขนส่งผู้โดยสารทำให้เกิดการบริการที่สะดวกสบาย ระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว เช่น ที่พัก แหล่งบันเทิง

3. การขนส่งผู้โดยสารกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

4. การขนส่งผู้โดยสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

5. การขนส่งผู้โดยสารเป็นโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

6. การเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกระตุ้นการพัฒนาการขนส่งผู้โดยสาร เช่น มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเติบโต มีความต้องการใชับริการขนส่งมากขึ้น


เครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร
     คือเสันทางภาคพื้นดิน พื้นน้ำและอากาศพาหนะสามารถใช้สัญจร รวมถึงสถานีรถไฟ สถานีรถทัวร์ ท่าเรือ และท่าอากาศยานที่ผู้โดยสารเริ่มเดินทางท่องเที่ยว และเป็นจุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยว ตลอดจนการโยงใยให้เส้นทางต่างๆ เชื่อมต่อกัน

ศักยภาพของเครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร มีส่วนทำให้เพิ่มหรือลดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว ฉะนั้นแหล่งท่องเที่ยวต้องมีเครือข่ายและมาตรฐานในการรองรับ เช่น ถนนกว้าง มีป้ายสื่อความหมาย และมีที่จอดรถเพียงพอ ส่วนเครือข่ายทางอากาศและทางเรือ ต้องใช้เสันทางการบินที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ดังนั้น ถนน รางรถไฟ ร่องน้ำและเสันทางบิน ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร


ลักษณะของการขนส่งผู้โดยสาร 
มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ
  • เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายบุคคลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
  • เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำด้วยอุปกรณ์การขนส่งต่างๆ
  • เป็นการเคลื่อนย้ายตามความประสงค์ของบุคคล
การขนส่งผู้โดยสาร เปรียบเสมือนกับสะพานที่เชื่อมการเดินทางของบุคคลจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งตามวัตถุประสงค์ของผู้เดินทาง เพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์ด้านเวลาและสถานที่


ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสารต่อการพัฒนาประเทศ
     การขนส่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ดังนี้
     ด้านเศรษฐกิจ ทำให้นักธุรกิจสามารถเดินทางไป มา เพื่อติดต่อค้าขายได้ เช่น การร่วมงานมหกรรมการแสดงสินค้า ซึ่งก่อให้การค้าขาย เป็นกุญแจดอกสำคัญเปิดทางให้ประเทศชาติบรรลุถึงการพัฒนาและความมั่งคั่ง นอกจากนี้ การขนส่งยังทำให้เกิดการลงทุนทางตรง คือ เพื่อแสวงหาผลกำไร และทางอ้อม คือ การขนย้ายนักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุน


      ด้านสังคม  เกิดการขยายตัวของเมือง การเดินทางสะดวกสบายขึ้น มีมาตรฐานและค่าครองชีพดีขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ลดการแบ่งแยกทางสังคม ระหว่าง เมืองกับชนบท
     ด้านการเมือง  ช่วยให้เกิดความสามัคคี เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การปกครองประเทศเป็นไปด้วยดี ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในชาติ

     ด้านการทหาร การส่งทหารไปปราบปราม สนับสนุนการป้องกันประเทศ ทำให้เกิดความมั่นคง


ปัญหาของการขนส่งผู้โดยสาร
     - ก่อให้เกิดอากาศเป็นพิษ
     - ก่อให้เกิดน้ำเป็นพิษ เช่น น้ำมันรั่วไหลลงแม่น้ำ จึงต้องมีการควบคุม การป้องกันและการแก้ไข
     
     - ก่อให้เกิดเสียงรบกวน อุปกรณ์การขนส่งอาจทำให้เกิดเสียงดังอึกทึก
     - ก่อให้เกิดการจราจรติดขัด ซึ่งเกิดจากขนาดผังเมือง อุปกรณ์การขนส่ง
     
     - ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เพราะการขาดความระมัดระวัง ขาดความรอบรู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
     - ก่อใ้ห้เกิดอุปสรรคต่อการลงทุน ต้องตอบแทนบุคลากรทางด้านธุรกิจขนส่ง 


การบริการการขนส่งผู้โดยสารมี 3 รูปแบบ คือ  
1. การให้บริการขนส่งผู้โดยสารในตัวเมือง 
ความพยายามในการขนส่งผู้โดยสารในชุมชน ซึ่งอาจเป็นเทศบาลเมืองต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม

2. การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
ความพยายามในการจัดการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง  
ให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม

3. การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ
ความพยายามในการขนส่งผู้โดยสารใ้ห้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการขนส่งทางเครื่องบิน 90 % ทางเรือ ทางบกรถยนต์ และทางรถไฟน้อยที่สุด


ประเภทของการขนส่งผู้โดยสาร มี 4 ประเภท คือ
  • การขนส่งด้วยรถยนต์
  • การขนส่งด้วยรถไฟ
  • การขนส่งด้วยเรือ
  • การขนส่งด้วยเครื่องบิน
 
     ดังนั้น การขนส่งผู้โดยสารช่วยกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวอย่างสะดวก เกิดการลงทุนทางด้านการท่องเที่ยว ช่วยสร้างรายได้ในท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับกระบวนการขนส่ง



อ้างอิงที่มา:

http://logistics.arch56.com/?p=108
http://www.phrae.mju.ac.th/faculty/Eco-tourism/guide2/airline/Business.html
http://www.itbsthai.com/knowledge_detail.php?LID=1&ID=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น