วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

❀ ประเทศลาว

ประเทศลาว


ประเทศลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
อังกฤษ: Lao People's Democratic Republic) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก และนอกจากนี้ ลาวเป็นประเทศที่เก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะ วัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ไทย กับลาว มีสัมพันธ์ไมตรีตลอดเวลา เสมือนบ้านพี่ เมืองน้อง


ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศของลาวอาจแบ่งได้ 3 เขต คือ
  1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
  2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดน กัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
  3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและ แม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ลักษณะภูมิอากาศ

ลาว มีสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อน  มี  2  ฤดู  คือ   ฤดูร้อน (พฤศจิกายน เมษายน)  กับ  ฤดูฝน (พฤษภาคม ตุลาคม)  อุณหภูมิเฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์  ในปี  2549  สูงสุด  31.7  องศาเซลเซียส  ต่ำสุด  22.5  องศาเซลเซียส  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย  1,930.3  มิลลิเมตรต่อปี
  
เมืองหลวงและแขวงสำคัญ

นครหลวงเวียงจันทน์  เป็น นครหลวงของประเทศ  และเป็นเขตการปกครองพิเศษ  เรียกว่านครหลวงเวียงจันทน์ (เดิมเรียกว่ากำแพงนครเวียงจันทน์)  อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคาย  มีประชากรประมาณ  711,919  คน (ปี 2549)  ซึ่งสมัยอาณาจักรล้านช้าง  เวียงจันทน์มีชื่อว่า จันทบุรีกรุงศรีสัตนาคณหุต”  โดยพระไชยเชษฐาธิราชสถาปนาให้เป็นนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้าง  ในราว พ.ศ. 2107

แขวงสะหวันนะเขต   เป็นแขวง (จังหวัด)ที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ  อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหาร  ประชากรประมาณ  842,340  คน

แขวงจำปาสัก   เป็นแขวง (จังหวัด) ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสาม  มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี   ประชากรประมาณ  616,642  คน (ปี 2549)

แขวงหลวงพระบาง  เป็น แขวง (จังหวัด) ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่  อยู่ทางตอนเหนือของ สปป.ลาว  มีประชากรประมาณ  415,218  คน  ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี 2541  จากองค์การยูเนสโก้ (UNESCO) ซึ่งทำให้เมืองหลวงพระบางเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วโลก  เกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน  เช่น  วัดเก่าแก่ที่สำคัญ   พระราชวังเจ้ามหาชีวิต  และสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญทางประวัติศาสตร์  รวมทั้งธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมที่งดงาม  ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงไว้  ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ

การเมืองการปกครอง

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) 

ด้านภาษา

ภาษาทางการ   ภาษาลาว
ภาษาท้องถิ่นอื่นๆ  ภาษาไท   ภาษาม้ง

ด้านศาสนา

รัฐบาลลาวให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา  โดยประชากรลาวร้อยละ  75  นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ 16-17 นับถือผี  ที่เหลือเป็นคริสต์ (ประมาณ  1  แสนคน)  และมุสลิม (ประมาณ  300  คน)

ด้านวัฒนธรรม 

มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคำกล่าวที่ว่า มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น ในด้านดนตรี ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำ ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

1. ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและความมั่นคง
 
- ด้านการเมือง รัฐบาลไทยและ สปป.ลาว มีความร่วมมือใกล้ชิดทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ และการสนับสนุนกันในเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ
- ด้านการทหาร 
กองทัพไทย-ลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น มีความร่วมมือทางวิชาการทหารและแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างต่อเนื่อง สามารถแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความมั่นคงทำให้พื้นที่บริเวณชายแดนไทย-ลาวส่วนใหญ่มีความสงบเรียบร้อย

2.ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
 
- ด้านการค้า  สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญ  ที่มีอัตราการขยายตัวสูงในตลาด สปป. ลาว
ได้แก่  น้ำมันสำเร็จรูปรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ผ้าผืนเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกลเคมีภัณฑ์ยานพาหนะอื่น ๆ และส่วนประกอบปูนซิเมนต์เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิวน้ำตาลทรายเครื่องดื่มผลิตภัณฑ์ยางผลิตภัณฑ์พลาสติกเตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนผลิตภัณฑ์เซรามิก  และอื่นๆ   
ส่วน สินค้าที่ไทยนำเข้าจาก สปป. ลาว  ที่สำคัญได้แก่  ได้แก่  สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์,  เชื้อเพลิงอื่น ๆ,  ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์,  พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช,  ธุรกรรมพิเศษ,  เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ,  ถ่านหิน,  ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้,  เสื้อผ้าสำเร็จรูป,  สิ่งพิมพ์,  แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่,  เยื่อกระดาและเศษกระดาษ,  ด้ายและเส้นใย,  สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และ กาแฟ ชา เครื่องเทศ
- ด้านการพัฒนาเครือข่ายคมนาคม เป็น ความร่วมมือที่สำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนไทย-ลาว สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวกยิ่งขึ้น ปัจจุบัน โครงการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมที่ไทยให้ความช่วยเหลือแก่ สปป.ลาว รวมมูลค่าประมาณ 6,681 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างถนน โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขง โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ โครงการปรับปรุงสนามบินในแขวงสำคัญต่าง ๆ รวมมูลค่าโครงการที่เสร็จสมบูรณ์แล้วประมาณ 2,517 ล้านบาท ที่สำคัญได้แก่ โครงการปรับปรุงสนามบินวัดไต นครหลวงเวียงจันทน์ โครงการก่อสร้างเส้นทางถนนเชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน (R3) และโครงการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างไทย-ลาว (หนองคาย-ท่านาแล้ง) มีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการรวมมูลค่าประมาณ 4,142 ล้านบาท ที่สำคัญได้แก่ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนมคำม่วน) และแห่งที่ 4 (เชียงราย-บ่อแก้ว) โครงการปรับปรุงสนามบินปากเซ (ระยะที่ 1) และโครงการพัฒนาถนนระหว่างห้วยโก๋น (จังหวัดน่าน)ปากแบ่ง (แขวงไชยะบุลี)

3. ความสัมพันธ์ด้านการทูต
 
ไทยกับ สปป.ลาวสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2493 และได้ดำเนินสัมพันธไมตรีมาด้วยความราบรื่น โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อฉลองโอกาสครบรอบ 60 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2553 


การเดินทางไปยังประเทศลาว

จากกรุงเทพฯ ไปลาว
โดยเครื่องบิน :  


ของสายการบินลาว จากสุวรรณภูมิ ราคาอยู่ที่เที่ยวเดียวอยู่ที่ประมาณ ท่านละ 4,700 บาท / การบินไทยราคา 6,600 บาท ซึ่งแพงทั้งคู่ มีอีกทางเลือกคือนั่งเครื่องบินของแอร์เอเซีย จากกรุงเทพฯ ไปลงที่อุดรธานี ราคาประมาณ 1,300 บาท จากนั้นต่อรถจากอุดรธานีเข้าสู่เวียงจันทน์อีกที เครื่องแอร์เอเซียจะไปถึงอุดรประมาณ 17.30 น. ซึ่งอาจข้ามข้ามแดนทัน โดยนั่งรถตู้จากสนามบินไปขนส่งและต่อรถไปเวียงจันทน์

จากอุดรใช้สายการบินลาวไปหลวงพระบาง
การบินลาว เปิดเที่ยวบินอุดรธานี-หลวงพระบาง ให้บริการวันศุกร์และวันอาทิตย์ ราคาเริ่มต้น 31,00 บาท (เที่ยวเดียว) ไป-กลับ 6,000 บาท (ราคารวมภาษี) สอบถามข้อมูลได้ที่ ลาวแอร์ไลน์ ท่าอากาศยาน
หลวงพระบาง-อุดรธานี เที่ยวบิน
Qv621 ออก 10.45 น.ถึง 11.30 น.
อุดรธานี-หลวงพระบาง เที่ยวบิน
Qv622 ออก 12.30 น.ถึง 13.15 น.

โดยรถยนต์ :
- จะไปเวียงจันทน์ นั่งรถทัวร์ซึ่งมีให้เลือกหลายบริษัท ไปลงที่ อุดร หนองคาย หรือขอนแก่น แล้วต่อรถไปยังเวียงจันทน์
- จะไปสะหวันนะเขต ขึ้นรถทัวร์ไปลงที่มุกดาหาร แล้วต่อรถจากมุกดาหารไปลงสะหวันนะเขต
- ไปปากเซ ขึ้นรถไปลงอุบลราชธานี แล้วต่อรถไปลงปากเซ
โดยรถโดยสารปรับอากาศ จาก สถานนีขนส่งหมอชิต 
บริษัท ขนส่งจำกัด
บริษัท เชิดชัย ทัวร์
บริษัท บารมี ทัวร์
บริษัท 407 พัฒนา
บริษัท รุ่งประเสิรฐทัวร์ 24 ที่นั่ง

โดยเรือ:


จากห้วยทรายตรงข้ามเชียงของจังหวัดเชียงรายยังสามารถเดินทางโดยทางเรือไปยังหลวงพระบางได้ และยังเป็นเส้นทางหลักยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวแบกแพคจากทั่วโลก เรือจะมีสองประเภท คือเรือช้าและเรือเร็ว เรือช้าค่าบริการเรือช้าอยู่ที่ 20$ ต่อท่าน ใช้เวลาในการเดินทาง 2 วัน 1 คืน โดยเรือจะไปพักที่ปากแบ่ง 1 คืน
     ในการเดินทางข้ามแดนจากจังหวัด อุดรราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา หนองคาย ไปยังกำแพงนครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สามารถใช้หลักฐานคือ หนังสือเดินทาง หนังสือผ่านแดน หรือหนังสือผ่านแดนชั่วคราวที่ออกให้ ณ ศาลากลางจังหวัดหนองคาย การขอออกหนังสือผ่านแดน จังหวัดหนองคายเปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ ศาลากลางจังหวัด เวลา 07.00 น.-17.00 น.


การเดินทางในประเทศลาว
 
ทางบก
การคมนาคมเป็นปัญหาสำคัญของลาว  เพราะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา  และลาวยังไม่มีรถไฟใช้  ถนนหนทางมีสภาพค่อนข้างแย่  ที่ราดยางแล้วมีไม่ถึง  1 ใน ของทั้งประเทศ  รัฐบาล พยายามพัฒนาปรับปรุงโดยได้รับเงินสนับสนุนจากต่างชาติและองค์กรความช่วย เหลือนานาชาติ  อาทิ  ทางหลวงหมายเลข 13  ถนนสายหลักของลาวที่ฝรั่งเศสสร้างไว้สมัยอาณานิคม  กลายเป็นราดยางอย่างดีตั้งแต่หลวงพระบางไปจนถึงสะหวันนะเขต  ระยะทางประมาณ 420 กิโลเมตร  มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถปรับอากาศและรถธรรมดา(พัดลม) วิ่งบริการโดยตลอด  สถานีรถโดยสารมีศูนย์กลางอยู่ที่นครเวียงจันทน์  โดยค่าโดยสารของชาวต่างชาติจะมีราคาสูงกว่าคนลาวประมาณ 1 เท่า 



ทางน้ำ
แม่น้ำเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญที่สุดของลาว คือ ใช้ติดต่อถึงกันทั่วประเทศ   โดยเฉพาะแม่น้ำโขง  มีเรือเร็วซึ่งลาวเรียกว่า เฮือไว  บริการจอดรับ-ส่ง ผู้โดยสารที่ท่าเรือตามหัวเมืองสำคัญ  เริ่มตั้งแต่ห้วยทราย  ลงมาหลวงพระบาง  ท่านาแล้ง  เวียงจันทน์  สะหวันนะเขต  ปากเซ  จนถึงจำปาสัก  เป็นเรือหางยาวนั่งได้ 6 ท่าน(มีเสื้อชูชีพบริการ)   นอกจากนี้มีบริการเรือข้ามฟากบริการในบางช่วง  เรือเช่าเหมาลำ  และเรือบริการนำชมแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เข่น วัด  ถ้ำ  และเรือสำราญล่องแม่น้ำโขงซึ่งเป็นของบริษัทต่างชาติ

 
ทางอากาศ
ลาวมีสนามบินภายในประเทศของสายการบินลาว   จากเมืองเวียงจันทนท์ไปห้วยซาย  หลวงพระบาง  หลวงน้ำทา อุดมไซ(เมืองไชย)  ปากเซ  พงสาลี  เชียงขวาง  ไซสมบูน  เวียงจันทน์ ไชยะบุลี  สะหวันนะเขต เมืองสิงห์ และซำเหนือ  เวลาออกที่แน่นอนจะทราบล่วงหน้าเพียง 1 วัน  หากผู้โดยสารน้อยไม่คุ้มค่าใช้จ่ายก็อาจจะยกเลิกไม่ทำการบิน  ค่าโดยสารสำหรับชาวต่างชาติจะสูงกว่าคนลาวประมาณ 2 เท่า



 

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศลาว 

 


     พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นครเวียงจันทน์ ประเทศลาวนับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งนครหลวงเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่าพระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่าง แยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็น ภาพประธานในดวงตรา

ตราแผ่นดินของลาว











     วัดเชียงทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองหลวงพระบาง ใกล้บริเวณที่แม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง มีถนนเล็กๆชื่อถนนโพธิสารราช ริมน้ำโขงคั่นอยู่ ตัวอย่างสถาปัตยกรรมล้านช้าง ณ เมืองพระบางหลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ และในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักษ์รักษาที่ดีที่สุดใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ในบรรดาวัดวาอารามทั้งหมดต้องยกให้วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงามที่สุด และได้รับการมาเยี่ยมเยือนจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทองเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว







      ประตูชัย ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครเวียงจันทน์ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึก ถึงประชาชนชาวลาว ผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฎิวัติของพรรคคอมมิวนิตย์ ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ใช้ปูนซิเมนต์ที่อเมริกาซื้อมาเพื่อนำ มาสร้างสนามบินใหม่ใน นครเวียงจันทน์ในระหว่างสงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันสร้างเพราะอเมริกาพ่ายเวียดนามเสียก่อน จึงนำปูนเหล่านั้นมากสร้างประตูชัยแทน ตามลักษณะประตูชัยที่กรุงปารีส ประเทศ ฝรั่งเศส แต่ลักษณะสถาปัตยกรรม ก็ยังคงเป็นลักษณะของลาว



สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวเพ็ญนภา   จุกแก้ว        523105030001
2.นางสาวมาริษา      แก้วบำรุง     523105030015    
3.นางสาวนัยนา        สุภาพ         523105030017
4.นางสาวสุวเนตร์     นะประสม     523105030025
5.นางสาววีรภา        กวีชัยสมบุญ 523105030043



อ้างอิงมาจาก:
http://www.laoairlines.com/flights
http://www.oceansmile.com/Lao/lao1.htm
http://thailaosbiz.com/index.php?option=com_content&task=view&id=17&Itemid=31
http://www.laos-discovery.com/watthatluang.html
http://www.abroad-tour.com/laos/main.html
http://www.choktaweetour.com/index_info.php?ID=16

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น