ความหมายของการขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือ
- เป็นการเคลื่อนย้ายบุคคลด้วยเรือไปตามแม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร
- ปัจจุบันการขนส่งผู้โดยสารทางเรือได้ลดความสำคัญลง ไม่ค่อยนิยม ใช้เวลาเดินทางมากกว่าการขนส่งประเภทอื่น
- แต่จะเน้นใ้ห้ความสำคัญในการส่งสินค้าระหว่างประเทศมากกว่า เพราะขนส่งได้คราวละมาก ๆ และราคาถูก
- เป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
- มีการพัฒนาเป็นแพก่อนแล้วจึงนำต้นไม้ทั้งต้นมาขุดเป็นรูปลำเรือ
- การบริการขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2315 ในประเทศอังกฤษ โดยท่าน ดุ๊ดแห่งบริดจ์วอเตอร์
- เป็นผู้เริ่มกิจการขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือในลำน้ำ ระหว่างเมืองแมนเชสเตอร์ กับสะพานลอนดอน
- ในปี พ.ศ.2362 มีเรือกลไฟที่เดินทางข้ามมหาสมุทรลำแรกชื่อเรือกลไฟ ซาวานนาห์
- เริ่มต้นด้วยการใช้เรือขนาดเล็กเป็นยานพาหนะเพื่อเดินทาง ทำ การประมง
- มีการค้ากับต่างประเทศพาณิิชนาวีไทยโดยใช้เรือสำเภาเป็นพาหนะในการขนส่ง
- ในรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการพัฒนาใช้เรือกลไฟแทนเรือสำเภา
- ในปี พ.ศ.2483 รัฐบาลได้เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมพาณิชนาวีขึ้นเพื่อให้การค้าของคนไทยสะดวกก้าวหน้าขึ้น จึงได้จัดตั้งบริษัทไทยเดินเรือทะเลจำกัดขึ้น
- ส่วนการขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือของไทยนั้นเริ่มจากการขนส่งผู้โดยสารในแม่น้ำจะอยู่ในรูปแบบของเรือเมล์
- การขนส่งผู้โดยสารทางทะเลภายในประเทศนั้นจะเป็นเรือโดยสารระหว่างแผ่นดินและเกาะใหญ่ที่มีชุมชนตั้งอยู่
- การขนส่งผู้โดยสารในแม่น้ำถดถอยอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการขนส่งรูปแบบอื่นเข้ามาแทน คือทางถนน ทางรถไฟ และทางอากาศ
- ยังคงเหลือแต่ธุรกิจเรือสำราญเพื่อการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งมีอยู่ 2 บริษัทคือบริษัทซีทรานทราเวิลจำกัด และบริษัทสยามครุยซ์ จำกัด ที่ให้บริการในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
- ต้นทุนดำเนินงานต่ำ
- ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
- อัตราค่าขนส่งถูกกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ
- สามารถขนส่งได้ครั้งละเป็นปริมาณมาก
- การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือมีความล่าช้ามากในการเดินทางเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งผู้โดยสารประเภทอื่น
- การบริการถูกกีดขวางด้วยธรรมชาติ
- การบริการมีลักษณะเป็นฤดูกาล
- การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือมักต้องมาจากการขนส่งทางอื่นก่อน
- ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือเพื่อการท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยวด้วยเรือเดินทะเล
- ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ
- ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยวด้วยเรือบรรทุกสินค้า
- ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยวด้วยเรือเฟอร์รี่
- ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยวด้วยเรือยอช์ท
- ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยวด้วยเรือแท็กซี่
- เรือโดยสาร แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.เรือสำราญ
3.เรือเฟอร์รี่
4.เรือความเร็วสูง
- เส้นทางเดินเรือ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือแบ
- เส้นทางเดินเรือน่านน้ำภายในประเทศ
- เส้นทางเดินเรือทะเลชายฝั่ง
- เส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศ
- ท่าเรือ มีหน้าที่สำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ
- หน้าที่ในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร
- หน้าที่ในการให้บริการแก่เรือโดยสาร
- การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือในตัวเมืองกรุงเทพฯ เนื่องจากกรุงเทพฯ มีแม่น้ำลำคลองเชื่อมติดต่อกันมากจนได้รับสมญานามว่า เวนิชแห่งตะวันออก โดยมีระบบเรือโดยสาร 3 ระบบคือ
2.ระบบเรือด่วนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา
3.ระบบเรือหางยาว
- การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือระหว่างเมือง ในประเทศไทยแทบจะไม่มีบทบาทเลย เป็นที่น่าเสียดายนักที่การพัฒนาด้านการเดินเรือโดยสารเพื่อเชื่อมสู่เมืองต่างๆ ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามันยังไม่ก้าวหน้าเหมือนการขนส่งผู้โดยสารประเภทอื่น ทำให้การขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองนั้นจึงเป็นเพียงบริการเฉพาะการท่องเที่ยวทางเรือในบางเส้นทางเท่านั้น โดยใช้เดินทะเลในรูปแบบต่าง ๆ ในการบริการดังต่อไปนี้
1.การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือสำราญ
2.การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือเฟอร์รี่
3.การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือความเร็วสูงมาก
- การขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศทางเรือ ธุรกิจการเดินเรือขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศตกต่ำลง เพราะผู้โดยสารหันไปนิยมการเดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งมันสะดวกและรวดเร็วกว่ามาก
- ด้วยเหตุนี้เองกิจการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศทางเรือลดบทบาทลง แล้วเปลี่ยนเป็นธุรกิจเรือเดินสมุทรท่องเที่ยวแทน
- มีเรือเดินสมุทรเพื่อการท่องเที่ยวแวะเข้ามาท่องเที่ยวในน่านน้ำไทยมากขึ้น เช่น เรือควีนอลิซาเบ็ธที่ 2 เรือโอเซี่ยนเพิลร์ เรือรอยัลไวกิ้งสตาร์ เป็นต้น
อ้างอิงที่มา:
http://www.marinerthai.com/sara/view.php?No=1002
http://logistics.arch56.com/?p=161
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no17-18/d171konsonwater.html
http://202.143.168.214/uttvc/newweb/2701_1001/g3d2.html