โลจีสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า การจัดลำเลียงสินค้าเพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการกระจายสินค้าต่ำที่สุด โลจีสติกส์เกี่ยวข้องตั้งแต่้กระบวนการจัดหาวัตถุดิบและไปสิ้นสุด ณ จุดที่มีการบริโภคสินค้านั้น หรืออีกในความหมายหนึ่ง โลจีสติกส์เป็นกระบวนการจัดการในการวางแผน จัดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งในส่วนที่มีการเคลื่อนย้ายและไม่มีการเคลื่อนย้ายในการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มจัดหาวัตถุดิบไปถึงจุดที่มีการบริโภคโลจีสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 2 ลักษณะ คือกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนุน ดั้งนี้
กิจกรรมหลัก (Key Activities) ได้แก่
- ระบบการขนส่ง (Transportation)
- การบริหารสินค้าใน stock (Inventory Management)
- ขบวนการสั่งซื้อ (Order Processing)
- การจัดการด้านข้อมูล (Information Management)
- การจัดการด้านการเงิน (Financial Management)
กิจกรรมสนับสนุน (Supporting Activities) ได้แก่
- การบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management)
- การจัดการควบคุมวัสดุในการผลิต (Warehouse Management)
- การจัดซื้อ (Purchasing)
- การบรรจุหีบห่อ (Packaging)
- การบริหารความต้องการของสินค้า (Demand Management)
การประกอบธุรกิจทั่วไป ผู้ประกอบการจะคำนึงถึงต้นทุนการผลิตเป็นหลัก และจะหาวิธีลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งรายอื่น ๆ ที่อยู่ในตลาด นอกจากต้นทุนวัตถุดิบและและแรงงานต่าง ๆ แล้ว ค่าใช่จ่ายด้านโลจีสติกส์ ถือว่าเป็นต้นทุนตัวหนึ่งที่มีสัดส่วนค่อนข้างมาก และมีผลต่อราคาสินค้าและบริการ
จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ต้นทุนของโลจีสติกส์โลกอยู่ที่ประมาณ 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศแถบยุโรปมีต้นทุนโลจีสติกส์ร้อยละ 7 ต่อ GDP อเมริกาเหนือ ร้อยละ 7-10 ประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก ร้อยละ 11.6 สำหรับประเทศไทยการคำนวณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโลจีสติกส์เก็บข้อมูลได้ยาก คาดว่าน่าจะอยู่ประมาณร้อยละ 25-30 ของ GDP
จากการศึกษาของธนาคารโลกยังพบอีกว่า ต้นทุนการขนส่งทางเรือที่ลดลงร้อยละ 1 จะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการค้าให้ผู้ส่งออกได้ถึงร้อยละ 5-8 และหากต้นทุนด้านโลจีสติกส์รวมลดลงร้อยละ 10 จะช่วยเพิ่มปริมาณการค้าได้มากถึงร้อยละ 20 ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการขนส่งทางทะเลกับโลจีสติกส์ ที่ส่งผลถึงการลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายให้ความสนใจในการวางแผนกลยุทธ์ด้านโลจีสติกส์เพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์ของโลจีสติกส์
วัตถุประสงค์ที่มีความสำคัญอันดับแรกของการจัดการระบบโลจีสติกส์ในระบบธุรกิจ คือ การสร้างประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือการสร้างคุณค่าโดยการนำสินค้าจากต้นกำเนิดไปสู่ที่ ๆ มีความต้องการ หน้าที่นี้ก็คือการนำสินค้าจากแหล่งที่ถูกต้องในรูปแบบ จังหวะเวลา คุณภาพ ปริมาณที่ถูกต้องด้วยต้นทุนที่พอเหมาะไปสู่สถานที่ ที่ถูกต้องด้วย
บทบาทของโลจีสติกส์
- โลจีสติกส์เป็นร่ายจ่ายที่สำคัญสำหรับธุรกิจต่าง ๆ และจะส่งผลกระทบและได้รับผลกระทบจากกิจกรรมอื่น ในระบบเศรษฐกิจ การปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการด้านโลจีสติกส์จะส่งผลโดยตรงต่อการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้นได้
- โลจิสติกส์ได้รองรับการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการของธุรกรรมทางเศรษฐกิจ และได้กลายเป็นกิจกรรมสำคัญในด้านการสนับสนุนการขายเสมือนหนึ่งเป็นสินค้าและบริการด้วย
- โลจีสติกส์เป็นการเพิ่มอรรถโยชน์ทางด้านเวลาและสถานที่ โดยมีการนำสินค้าที่ลูกค้าต้องการเพื่อบริโภคหรือการผลิตไปยังสถานที่ที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ในสภาพที่ต้องการ และในต้นทุนที่ต้องการ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมวลการพัฒนาระบบโลจีสติกส์ จาการศึกษาวิเคราะห์ระดับการพัฒนาระบบโลจีสติกส์ของประเทศต่าง ๆ ได้รวม 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. Physical Distribution
เป็นกา่รให้ความสำคัญเฉพาะด้านของการขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยอาจครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขนส่ง การเก็บรักษาสินค้า การจัดการวัสดุ และการบรรจุหีบห่อเพื่อป้องกันการสูญเสียระหว่างการขนส่ง การพัฒนาระดับนี้ยังไม่มุ่งเน้นการลดต้นทุนในส่วนที่เป็นสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าระหว่างผลิต
2. Internally Integrated Logistics
เป็นการพัฒนาที่รวบรวมกิจกรรมโลจีสติกส์ที่เ้กิดขึ้นก่อนกระบวนการผลิต มีการเชื่อมโยงการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนถึงการจัดส่งถึงผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนจากการลดสินค้าคงคลังเป็นเพิ่มความถี่ในการระบายสินค้า การพัฒนาในขั้นตอนนี้จะมีการใช้ IT/Software จัดการกิจกรรมทั้งระบบ
3. Externally Integrated Logistics
เป็นการพัฒนาที่มีการเชื่อมโยงใช้รูปแบบโมเดล การขนส่งทุกรูปแบบ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การมีจุดขนถ่ายสินค้าที่มีมาตรฐาน มีระบบไอที ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบริษัท นอกจากนี้ยังมีการใช้ผู้ชำนาญการด้านโลจีสติกส์ที่เป็นผู้ให้บริการโลจีสติกส์เฉพาะด้าน เช่น Third Party Logistics Provider เป็นต้น
เป็นการพัฒนาที่เกิดจากการตื่นตัวของบริษัทข้ามชาติที่กำลังเผชิญกับปัญหากำไรลดลงในประเทศที่ตนตั้งอยู่ ดังนั้นจึงเริ่มหาแหล่งจัดซื้อที่ถูกกว่าในต่างประเทศ ลักษณะของการพัฒนาในขั้นตอนนี้คือ การจัดซื้อวัตถุุดิบและจัดส่งสินค้าจะครอบคลุมแหล่งวัตถุดิบทั่วโลก ด้านการขนส่ง การเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการท่าเรือ ขั้นตอนการขนส่งสินค้าชายแดน การให้ความสำคัญกับผลกระทบของการขนส่งต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านการขนส่ง ด้านไอที มีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในและระหว่างประเทศ
ในส่วนของประเทศไทยระดับการพัฒนาโลจีสติกส์ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น คืออยู่ในขั้นตอนระหว่างการพัฒนาจากช่วง Physical Distribution เข้าสู่ช่วง Internally Integrated Logistics
ประเทศไทยกับการพัฒนาโลจีสติกส์
ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมามีการกล่าวขานถึงโลจีสติกส์กันมากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยยังไม่มีนโยบายโลจีสติกส์ที่ชัดเจนและไม่มีกลไกในการผลักดันนโยบายดังกล่าว ต่อมารัฐบาลเริ่มเห็นความสำคัญของการพัฒนาโลจีสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ โดยเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจีสติกส์ของประเทศ โดยตั้งเป้าหมายภายใน 5 ปีข้างหน้า ระบบโลจีสติกส์ไทยจะมีต้นทุนที่ร้อยละ 15 ทั้งนี้มีการแต่งตั้งคณะทำงานด้านโลจีสติกส์ จำนวน 4 ชุด จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชน อาทิ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ทำการศึกษาด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลโลจีสติกส์ และการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยมีแนวทางสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
1. โครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้
- การปรับปรุงการบริหารจัดการรูปแบบการขนส่งที่สำคัญที่ยังมีการใช้งานน้อย อาทิ การขนส่งระบบรางและการขนส่งทางน้ำ ที่จะช่วยประหยัดต้นทุนด้านการขนส่ง
- การปรับปรุงจุดเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบโมเดล การขนส่งให้สามารถเปลี่ยนถ่ายจากขนส่งรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การพัฒนาเส้นทางการขนส่งให้เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม
2. การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูล
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเอกสารการค้าระหว่างประเทศที่ผู้ส่งออกหรือนำเข้าต้องมีการติดต่อกับหน่วยราชการหลายหน่วยงาน ดังนั้นการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การนำเข้า การส่งออก และโลจีสติกส์ จะต้องมีแนวทางดังนี้
- การให้บริการที่ไม่ยึดรูปแบบการแบ่งส่วนราชการ
- สร้างมาตรฐานกลางและกลไกการทำงานระหว่างระบบ
3. ฐานข้อมูลโลจีสติกส์
ประเทศไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาโลจีสติกส์ ดังนั้นข้อมูลโลจีสติกส์ยังเป็นที่รับทราบอยู่ในวงจำกัดหรืออาจจะกระจัดกระจาย จึงจำเป็นต้องสร้างฐานข้อมูล โดยมีแนวทางดังนี้
- การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจีสติกส์และสัดส่วนผลกระทบที่มีต่อมวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องสร้างแบบจำลองในการคำนวณต้นทุนดังกล่าว
- การจัดเก็บข้อมูลอุปสงค์และอุปทานของบุคลากรด้านโลจีสติกส์
- การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจีสติกส์ของแต่ละอุตสาหกรรม
4. การพัฒนาบุคลากรโลจีสติกส์
เนื่องจากโลจีสติกส์ยังอยู่ในวงจำกัด ผู้ชำนาญการด้านโลจีสติกส์มีจำนวนเล็กน้อยอุปสรรคที่สำคัญคือขาดแคลนอาจารย์ที่สอนด้านโลจีสติกส์ สำหรับแนวทางในการพัฒนาบุคลากรโลจีสติกส์ มีดังนี้
- สร้างบุคลากรภาครัฐและนักเรียนนักศึกษา อาทิ ให้ทุนการศึกษาแก่ข้าราชการและอาจารย์
- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาไทยและต่างประเทศ
- สร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการในเรื่องการจัดการโลจีสติกส์อย่างเป็นระบบ
1) ลด ระยะเวลาในการขนส่งและส่งมอบสินค้าตรงเวลา
2) ลด ต้นทุนโลจีสติกส์ด้านสินค้าคงคลังและค่าขนส่งสินค้า
3) ลด การสูญเสียโอกาสจากการเสียลูกค้า
4) เพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล
5) เพิ่ม ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเข้าถึงตลาด
6) เพิ่ม ลูกค้าและำกำไรอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจ
- ความร่วมมือในโซ่อุปทาน
- ประหยัดจากความเร็ว
- การลดระยะเวลาการส่งมอบ
- การสนองความต้องการของลูกค้า
- การสร้างความเชื่อมั่น
- ประสิทธิภาพของต้นทุนรวม
- การบูรณาการในโซ่อุปทาน
- การสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ
อ้างอิง :
เมื่อไหร่ อาจารย์ จะ ตรวจ ถึงค่ะ
ตอบลบ