วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

❀ โลจิสติกส์ (Logistics)

     โลจีสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า การจัดลำเลียงสินค้าเพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการกระจายสินค้าต่ำที่สุด โลจีสติกส์เกี่ยวข้องตั้งแต่้กระบวนการจัดหาวัตถุดิบและไปสิ้นสุด ณ จุดที่มีการบริโภคสินค้านั้น หรืออีกในความหมายหนึ่ง โลจีสติกส์เป็นกระบวนการจัดการในการวางแผน จัดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งในส่วนที่มีการเคลื่อนย้ายและไม่มีการเคลื่อนย้ายในการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มจัดหาวัตถุดิบไปถึงจุดที่มีการบริโภคโลจีสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 2 ลักษณะ คือกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนุน ดั้งนี้ 
   กิจกรรมหลัก (Key Activities) ได้แก่
  • ระบบการขนส่ง (Transportation)
  • การบริหารสินค้าใน stock (Inventory Management)
  • ขบวนการสั่งซื้อ (Order Processing)
  • การจัดการด้านข้อมูล (Information Management)
  • การจัดการด้านการเงิน (Financial Management)


   กิจกรรมสนับสนุน (Supporting Activities) ได้แก่
  • การบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management)
  • การจัดการควบคุมวัสดุในการผลิต (Warehouse Management)
  • การจัดซื้อ (Purchasing)
  • การบรรจุหีบห่อ (Packaging)
  • การบริหารความต้องการของสินค้า (Demand Management)

ความสำคัญของโลจีสติกส์  
     
     การประกอบธุรกิจทั่วไป ผู้ประกอบการจะคำนึงถึงต้นทุนการผลิตเป็นหลัก และจะหาวิธีลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งรายอื่น ๆ ที่อยู่ในตลาด นอกจากต้นทุนวัตถุดิบและและแรงงานต่าง ๆ แล้ว ค่าใช่จ่ายด้านโลจีสติกส์ ถือว่าเป็นต้นทุนตัวหนึ่งที่มีสัดส่วนค่อนข้างมาก และมีผลต่อราคาสินค้าและบริการ
     จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ต้นทุนของโลจีสติกส์โลกอยู่ที่ประมาณ 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศแถบยุโรปมีต้นทุนโลจีสติกส์ร้อยละ 7 ต่อ GDP อเมริกาเหนือ ร้อยละ 7-10 ประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก ร้อยละ 11.6 สำหรับประเทศไทยการคำนวณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโลจีสติกส์เก็บข้อมูลได้ยาก คาดว่าน่าจะอยู่ประมาณร้อยละ 25-30 ของ GDP



     จากการศึกษาของธนาคารโลกยังพบอีกว่า ต้นทุนการขนส่งทางเรือที่ลดลงร้อยละ 1 จะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการค้าให้ผู้ส่งออกได้ถึงร้อยละ 5-8 และหากต้นทุนด้านโลจีสติกส์รวมลดลงร้อยละ 10 จะช่วยเพิ่มปริมาณการค้าได้มากถึงร้อยละ 20 ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการขนส่งทางทะเลกับโลจีสติกส์ ที่ส่งผลถึงการลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายให้ความสนใจในการวางแผนกลยุทธ์ด้านโลจีสติกส์เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ของโลจีสติกส์

      วัตถุประสงค์ที่มีความสำคัญอันดับแรกของการจัดการระบบโลจีสติกส์ในระบบธุรกิจ คือ การสร้างประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือการสร้างคุณค่าโดยการนำสินค้าจากต้นกำเนิดไปสู่ที่ ๆ มีความต้องการ หน้าที่นี้ก็คือการนำสินค้าจากแหล่งที่ถูกต้องในรูปแบบ จังหวะเวลา คุณภาพ ปริมาณที่ถูกต้องด้วยต้นทุนที่พอเหมาะไปสู่สถานที่ ที่ถูกต้องด้วย


บทบาทของโลจีสติกส์

  • โลจีสติกส์เป็นร่ายจ่ายที่สำคัญสำหรับธุรกิจต่าง ๆ และจะส่งผลกระทบและได้รับผลกระทบจากกิจกรรมอื่น ในระบบเศรษฐกิจ การปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการด้านโลจีสติกส์จะส่งผลโดยตรงต่อการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้นได้ 
  • โลจิสติกส์ได้รองรับการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการของธุรกรรมทางเศรษฐกิจ และได้กลายเป็นกิจกรรมสำคัญในด้านการสนับสนุนการขายเสมือนหนึ่งเป็นสินค้าและบริการด้วย 
  • โลจีสติกส์เป็นการเพิ่มอรรถโยชน์ทางด้านเวลาและสถานที่ โดยมีการนำสินค้าที่ลูกค้าต้องการเพื่อบริโภคหรือการผลิตไปยังสถานที่ที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ในสภาพที่ต้องการ และในต้นทุนที่ต้องการ 
    พัฒนาการของระบบโลจีสติกส์
          
         สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมวลการพัฒนาระบบโลจีสติกส์ จาการศึกษาวิเคราะห์ระดับการพัฒนาระบบโลจีสติกส์ของประเทศต่าง ๆ ได้รวม 4 ขั้นตอน ดังนี้ 
          
    1. Physical Distribution
         เป็นกา่รให้ความสำคัญเฉพาะด้านของการขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยอาจครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขนส่ง การเก็บรักษาสินค้า การจัดการวัสดุ และการบรรจุหีบห่อเพื่อป้องกันการสูญเสียระหว่างการขนส่ง การพัฒนาระดับนี้ยังไม่มุ่งเน้นการลดต้นทุนในส่วนที่เป็นสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าระหว่างผลิต


    2. Internally Integrated Logistics
         เป็นการพัฒนาที่รวบรวมกิจกรรมโลจีสติกส์ที่เ้กิดขึ้นก่อนกระบวนการผลิต มีการเชื่อมโยงการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนถึงการจัดส่งถึงผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนจากการลดสินค้าคงคลังเป็นเพิ่มความถี่ในการระบายสินค้า การพัฒนาในขั้นตอนนี้จะมีการใช้ IT/Software จัดการกิจกรรมทั้งระบบ

    3. Externally Integrated Logistics
              เป็นการพัฒนาที่มีการเชื่อมโยงใช้รูปแบบโมเดล การขนส่งทุกรูปแบบ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การมีจุดขนถ่ายสินค้าที่มีมาตรฐาน มีระบบไอที ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบริษัท นอกจากนี้ยังมีการใช้ผู้ชำนาญการด้านโลจีสติกส์ที่เป็นผู้ให้บริการโลจีสติกส์เฉพาะด้าน เช่น Third Party Logistics Provider เป็นต้น
     

    4. Global Logistics Management
         เป็นการพัฒนาที่เกิดจากการตื่นตัวของบริษัทข้ามชาติที่กำลังเผชิญกับปัญหากำไรลดลงในประเทศที่ตนตั้งอยู่ ดังนั้นจึงเริ่มหาแหล่งจัดซื้อที่ถูกกว่าในต่างประเทศ ลักษณะของการพัฒนาในขั้นตอนนี้คือ การจัดซื้อวัตถุุดิบและจัดส่งสินค้าจะครอบคลุมแหล่งวัตถุดิบทั่วโลก ด้านการขนส่ง การเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการท่าเรือ ขั้นตอนการขนส่งสินค้าชายแดน การให้ความสำคัญกับผลกระทบของการขนส่งต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านการขนส่ง ด้านไอที มีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในและระหว่างประเทศ
         ในส่วนของประเทศไทยระดับการพัฒนาโลจีสติกส์ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น คืออยู่ในขั้นตอนระหว่างการพัฒนาจากช่วง Physical Distribution เข้าสู่ช่วง Internally Integrated Logistics


    ประเทศไทยกับการพัฒนาโลจีสติกส์

         ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมามีการกล่าวขานถึงโลจีสติกส์กันมากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยยังไม่มีนโยบายโลจีสติกส์ที่ชัดเจนและไม่มีกลไกในการผลักดันนโยบายดังกล่าว ต่อมารัฐบาลเริ่มเห็นความสำคัญของการพัฒนาโลจีสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ โดยเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจีสติกส์ของประเทศ โดยตั้งเป้าหมายภายใน 5 ปีข้างหน้า ระบบโลจีสติกส์ไทยจะมีต้นทุนที่ร้อยละ 15 ทั้งนี้มีการแต่งตั้งคณะทำงานด้านโลจีสติกส์ จำนวน 4 ชุด จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชน อาทิ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ทำการศึกษาด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลโลจีสติกส์ และการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยมีแนวทางสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

    1. โครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย
         เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้
    • การปรับปรุงการบริหารจัดการรูปแบบการขนส่งที่สำคัญที่ยังมีการใช้งานน้อย อาทิ การขนส่งระบบรางและการขนส่งทางน้ำ ที่จะช่วยประหยัดต้นทุนด้านการขนส่ง 
    • การปรับปรุงจุดเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบโมเดล การขนส่งให้สามารถเปลี่ยนถ่ายจากขนส่งรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
    • การพัฒนาเส้นทางการขนส่งให้เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม
      ดังนั้นเพื่อที่จะให้โครงสร้างพื้นฐานรองรับโลจีสติกส์ จึงจำเป็นต้องเร่งให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจน

      2. การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูล 
           เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเอกสารการค้าระหว่างประเทศที่ผู้ส่งออกหรือนำเข้าต้องมีการติดต่อกับหน่วยราชการหลายหน่วยงาน ดังนั้นการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การนำเข้า การส่งออก และโลจีสติกส์ จะต้องมีแนวทางดังนี้ 
      • การให้บริการที่ไม่ยึดรูปแบบการแบ่งส่วนราชการ 
      • สร้างมาตรฐานกลางและกลไกการทำงานระหว่างระบบ
        ดังนั้น การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลจึงมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านเอกสารและบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพบริการ ตลอดจนสร้างความเป็นสากลที่จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับต่างประเทศ

        3. ฐานข้อมูลโลจีสติกส์
                ประเทศไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาโลจีสติกส์ ดังนั้นข้อมูลโลจีสติกส์ยังเป็นที่รับทราบอยู่ในวงจำกัดหรืออาจจะกระจัดกระจาย จึงจำเป็นต้องสร้างฐานข้อมูล โดยมีแนวทางดังนี้ 
        • การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจีสติกส์และสัดส่วนผลกระทบที่มีต่อมวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องสร้างแบบจำลองในการคำนวณต้นทุนดังกล่าว  
        • การจัดเก็บข้อมูลอุปสงค์และอุปทานของบุคลากรด้านโลจีสติกส์
        • การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจีสติกส์ของแต่ละอุตสาหกรรม
           
          4. การพัฒนาบุคลากรโลจีสติกส์
               เนื่องจากโลจีสติกส์ยังอยู่ในวงจำกัด ผู้ชำนาญการด้านโลจีสติกส์มีจำนวนเล็กน้อยอุปสรรคที่สำคัญคือขาดแคลนอาจารย์ที่สอนด้านโลจีสติกส์ สำหรับแนวทางในการพัฒนาบุคลากรโลจีสติกส์ มีดังนี้ 

            • สร้างบุคลากรภาครัฐและนักเรียนนักศึกษา อาทิ ให้ทุนการศึกษาแก่ข้าราชการและอาจารย์ 
            • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาไทยและต่างประเทศ
            • สร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการในเรื่องการจัดการโลจีสติกส์อย่างเป็นระบบ
            เคล็ดลับการนำโลจีสติกส์ไปใช้เป็นกลยุทธ์ในการลดต้นทุน

            1) ลด ระยะเวลาในการขนส่งและส่งมอบสินค้าตรงเวลา
            2) ลด ต้นทุนโลจีสติกส์ด้านสินค้าคงคลังและค่าขนส่งสินค้า
            3) ลด การสูญเสียโอกาสจากการเสียลูกค้า
            4) เพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล
            5) เพิ่ม ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเข้าถึงตลาด
            6) เพิ่ม ลูกค้าและำกำไรอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจ



            กุญแจแห่งความสำเร็จในการนำกลยุทธ์ไปใช้ในระบบโลจีสติกส์
            • ความร่วมมือในโซ่อุปทาน
            • ประหยัดจากความเร็ว
            • การลดระยะเวลาการส่งมอบ
            • การสนองความต้องการของลูกค้า
            • การสร้างความเชื่อมั่น
            • ประสิทธิภาพของต้นทุนรวม
            • การบูรณาการในโซ่อุปทาน
            • การสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ


                 ดังนั้น ปัจจัยแห่งการประสบความสำเร็จในการลดต้นทุนโลจีสติกส์ อยู่ที่ความสามารถของบริษัทในการบริหารคนในองค์กรของตนเอง ให้เข้าใจถึงความร่วมมือในการทำงานเป็นทีม ทั้งกับบุคคลในองค์กรและนอกองค์กรในฐานะเป็นหุ้นส่วนธุรกิจไม่ใช่คู่แข่ง



            อ้างอิง :

            วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

            ❀ มาร์โค โปโล ( Marco Polo )

                 มาร์โค โปโล เำกิดเมื่อปี 1254 ที่เมืองเวนิส บิดาชื่อ นิโคโล โปโล ตอนที่มาร์โค โปโลเกิด พ่อและอา มัฟเฟโอ โปโล ได้ออกเดินทางไปค้าขายในแถบคาบสมุทรไครเมียร์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศยูเครนในปัจจุบัน และเป็นช่วงที่อยู่ในเขตอิทธิพลของมองโกลที่กำลังแผ่อำนาจจากเอเชียกลางมายังทวีปยุโีรป ในปี 1260 ได้เกิดสงครามระหว่างหลานของเจงกีสข่าน ทำให้พ่อและอาของมาร์โค โปโลต้องเดินทางหลบสงครามไปที่เมืองบูคารา ประเทศอุซเบกิซสถาน ณ ที่นั้น พ่อและอาของมาร์โค โปโลได้พบกับฑูตของกุบไลข่าน ซึ่งได้ชักชวนบุคคลทั้งสองเดินทางไปเข้าพบกุบไลข่าน เพราะกุบไลข่านเป็นผู้ที่สนใจเรื่องราวความเชื่อของชาวยุโรปมาก จึงขอให้นิโคโล โปโลและน้องชายเดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อเข้าพบพระสันตปาปา และขอให่้ส่งผู้มีความรู้ 100 คน และน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ในนครเยรูซาเลมกลับมาถวายพระองค์ เมื่อทั้งสองเดินทางกลับถึงบ้านเกิดที่เมืองเวนิสในปี 1269 มาร์โค โปโลมีอายุได้ 15 ปี แต่มารดาของมาร์โค โปโลได้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ในปี 1271 เมื่อมาร์โค โปโล อายุ 17 ปี ได้ขอเดินทางติดตามบิดาและอากลับไปประเทศจีน พร้อมกับพระราชสาส์นจากพระสันตปาปาเกร็กกอรี่ ที่ 10 น้ำมันศักดิ์สิทธิ์ พร้อมด้วยพระ 2 รูป

            มาร์โค โปโล



                ครอบครัวโปโลทั้ง 3 คนออกเดินทางจากนครเยรูซาเลมในปี 1272 ใช้เวลาเดินทางนานถึง 3 ปีครึ่งจึงเดินทางถึงเมืองชางตู การเดินทางบกในครั้งนี้ครอบครัวโปโลได้เดินทางผ่านดินแดนต่างๆ มากมาย เช่น อนาโตเลีย คอเคซัส ตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง ผ่านที่ราบสูงพาเมียร์ ซึ่งมีความสูง 5,000 เมตร และเดินทางข้ามทะเลทรายโกบี จนในที่สุดครอบครัวโปโลก็เดินทางถึงประเทศจีน ซึ่งมาร์โค โปโล เรียกว่า "คาเธย์" รวมระยะทางข้ามทวีปกว่า 5,600 ไมล์


                ในปี 1275 มาร์โค โปโลได้เข้าเฝ้ากุบไลข่าน กุบไลข่านทรงเอ็นดูมาร์โค โปโลเป็นพิเศษ ซึ่งขณะนั้นมาร์โค โปโล มีอายุ 21 ปี ทำให้มาร์โค โปโล ได้มีโอกาสเข้าทำงานรับใช้กุบไลข่านนานถึง 17 ปี ครอบครัวโปโลก็เริ่มวิตกกังวลถึงอนาคตของพวกตน เนื่องจากกุบไลข่านทรงชราภาพมากขึ้นแล้ว จึงเข้ากราบทูลกุบไลข่านขออนุญาติกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด แต่กุบไลข่านไม่ยอม จนในปี 1292 พระชายาของอาร์กุนข่านได้สิ้นพระชนม์ อาร์กุนข่านจึงได้ส่งฑูตมาขอให้กุบไลข่านส่งเจ้าหญิงแห่งมองโกลไปเป็นพระชายาองค์ใหม่ ครอบครัวโปโลจึงขออาสาพาเจ้าหญิงโคคาชิน ไปถวายแก่อาร์กุนข่าน กุบไลข่านจึงจำใจต้องอนุญาติ


                 การเดินทางในครั้งนี้ได้ใช้เส้นทางเรือ เดินทางผ่านเกาะญี่ปุ่น อาณาจักรจามปา เำกาะสุมาตรา เกาะนิโคบาร์ เกาะลังกา เข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย การเดินทางในครั้่งนี้ใช้เวลาเดินทางนานถึง 2 ปี ผู้โดยสารกว่า 600 คนเหลือชีวิตรอดเพียง 18 คน เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ พายุ และการปล้นของโจรสลัด เมื่อเดินทางถึงก็ได้ทราบว่าอาร์กุนข่านสิ้นพระชนม์แล้ว เจ้าหญิงโคคาชินจึงได้สมรสกับโอรสของอาร์กุนข่านแทน ในปี 1294 เมื่อกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ อาณาจักรมองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว และในปี 1368 มองโกลก็ได้ถูกขับออกจากประเทศจีน


                ในปี 1295 จากการเดินทางรอนแรมทั้งทางบกและทางทะเลเป็นระยะเวลาเกือบ 3 ปี ครอบครัวโปโลก็เดินทางถึงบ้านเกิดเมืองเวนิส ในขณะนั้นมาร์โค โปโล มีอายุได้ 41 ปี หลังจากกลับถึงบ้านได้ไม่นาน มาร์โค โปโล ก็ได้ถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมในสงครามระหว่างเมืองเวนิสและเมืองเจนัว จนทำให้มาร์โค โปโล ถูกจับเป็นเชลยศึกในคุกของเมืองเจนัวเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ณ ที่นี้เอง มาร์โค โปโล ได้พบกับนักเขียนชาวเมืองปิซา ชื่อ Rustichello มาร์โค โปโล ได้เล่าเรื่องราวการเดินทาง และการใช้ชีวิตในประเทศจีนให้ฟัง และได้บันทึกเป็นหนังสือชื่อ "คำอธิบายเกี่ยวกับโลก" หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า "การเดินทางของมาร์โค โปโล"  ในราวปี 1299 มาร์โค โปโลได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นนักโทษ และมาร์โค โปโลได้ถึงแก่กรรมในปี 1324 สิริรวมอายุได้ 70 ปี


                  นอกจากนี้มาร์โค โปโลนักเดินทางชาวอิตาลี ได้เป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเลไปถึงประเทศจีน และในตอนกลับประเทศเขาก็ได้ลงเรือที่เมืองเฉวียนโจวของมณฑลฮกเกี้ยนของจีนกลับถึงเวนิสซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา เส้นทางสายไหมทางทะเลได้เชื่อมจีนกับประเทศอารยธรรมที่สำคัญและแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลก ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจในเขตเหล่านี้ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "เส้นทางแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตก"




            อ้างอิง :  
            http://www.midnightuniv.org/midnightuniv/AAA1.htm
            http://www.bloggang.com
            http://203.114.105.84/virtual/Physicals/sci19/www.jstp.org/talk8.htm
            http://pinkmaya.mysquare.in.th

            วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

            ❀ ความรู้เบื้องต้นด้านการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว

                 การท่องเที่ยวเป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยประจำไปยังแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมธรรมชาติ และคุณค่าทางวัฒนธรรม ซึ่งต้องอาศัยยานพาหนะในการขนส่งไปยังแหล่งท่องเที่ยวนั้นตามความต้องการ

            ความหมายของการขนส่งทั่วไป
                 พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 กล่าวไว้ว่า
            การขน คือ การนำของมาก ๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
            การส่ง คือ การยื่นให้ถึงมือ พาไปให้ถึงที่
            ดั้งนั้น การขนส่ง จึงหมายถึง การนำไปและการนำมาซึ่งของมาก ๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

                 พระราชบัญญัติการขนส่ง 2497 มาตรา 4
            การขนส่งหมายถึง การลำเลียง หรือการเคลื่อนย้ายบุคคล หรือสิ่งของด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การขนส่ง ซึ่งหมายถึงยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งรวมทั้งเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ

            ลักษณะของการขนส่งทั่วไป
            ถ้าเป็นการขนส่งคน เรียกว่า การขนส่งผู้โดยสาร
            ถ้าเป็นการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ เรียกว่า การขนส่งสินค้า



            ความหมายของการขนส่งผู้โดยสาร
                 คือกา่รจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคล ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง ตามความประสงค์ของบุคคลนั้น ๆ

            ความสัมพันธ์ 6 ประการ ระหว่างการขนส่งผู้โดยสารกับการท่องเที่ยว
            1. การขนส่งผู้โดยสารทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไป-กลับจากแหล่งท่องเที่ยวได้

            2. การขนส่งผู้โดยสารทำให้เกิดการบริการที่สะดวกสบาย ระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว เช่น ที่พัก แหล่งบันเทิง

            3. การขนส่งผู้โดยสารกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

            4. การขนส่งผู้โดยสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

            5. การขนส่งผู้โดยสารเป็นโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

            6. การเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกระตุ้นการพัฒนาการขนส่งผู้โดยสาร เช่น มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเติบโต มีความต้องการใชับริการขนส่งมากขึ้น


            เครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร
                 คือเสันทางภาคพื้นดิน พื้นน้ำและอากาศพาหนะสามารถใช้สัญจร รวมถึงสถานีรถไฟ สถานีรถทัวร์ ท่าเรือ และท่าอากาศยานที่ผู้โดยสารเริ่มเดินทางท่องเที่ยว และเป็นจุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยว ตลอดจนการโยงใยให้เส้นทางต่างๆ เชื่อมต่อกัน

            ศักยภาพของเครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร มีส่วนทำให้เพิ่มหรือลดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว ฉะนั้นแหล่งท่องเที่ยวต้องมีเครือข่ายและมาตรฐานในการรองรับ เช่น ถนนกว้าง มีป้ายสื่อความหมาย และมีที่จอดรถเพียงพอ ส่วนเครือข่ายทางอากาศและทางเรือ ต้องใช้เสันทางการบินที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ดังนั้น ถนน รางรถไฟ ร่องน้ำและเสันทางบิน ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร


            ลักษณะของการขนส่งผู้โดยสาร 
            มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ
            • เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายบุคคลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
            • เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำด้วยอุปกรณ์การขนส่งต่างๆ
            • เป็นการเคลื่อนย้ายตามความประสงค์ของบุคคล
            การขนส่งผู้โดยสาร เปรียบเสมือนกับสะพานที่เชื่อมการเดินทางของบุคคลจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งตามวัตถุประสงค์ของผู้เดินทาง เพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์ด้านเวลาและสถานที่


            ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสารต่อการพัฒนาประเทศ
                 การขนส่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ดังนี้
                 ด้านเศรษฐกิจ ทำให้นักธุรกิจสามารถเดินทางไป มา เพื่อติดต่อค้าขายได้ เช่น การร่วมงานมหกรรมการแสดงสินค้า ซึ่งก่อให้การค้าขาย เป็นกุญแจดอกสำคัญเปิดทางให้ประเทศชาติบรรลุถึงการพัฒนาและความมั่งคั่ง นอกจากนี้ การขนส่งยังทำให้เกิดการลงทุนทางตรง คือ เพื่อแสวงหาผลกำไร และทางอ้อม คือ การขนย้ายนักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุน


                  ด้านสังคม  เกิดการขยายตัวของเมือง การเดินทางสะดวกสบายขึ้น มีมาตรฐานและค่าครองชีพดีขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ลดการแบ่งแยกทางสังคม ระหว่าง เมืองกับชนบท
                 ด้านการเมือง  ช่วยให้เกิดความสามัคคี เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การปกครองประเทศเป็นไปด้วยดี ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในชาติ

                 ด้านการทหาร การส่งทหารไปปราบปราม สนับสนุนการป้องกันประเทศ ทำให้เกิดความมั่นคง


            ปัญหาของการขนส่งผู้โดยสาร
                 - ก่อให้เกิดอากาศเป็นพิษ
                 - ก่อให้เกิดน้ำเป็นพิษ เช่น น้ำมันรั่วไหลลงแม่น้ำ จึงต้องมีการควบคุม การป้องกันและการแก้ไข
                 
                 - ก่อให้เกิดเสียงรบกวน อุปกรณ์การขนส่งอาจทำให้เกิดเสียงดังอึกทึก
                 - ก่อให้เกิดการจราจรติดขัด ซึ่งเกิดจากขนาดผังเมือง อุปกรณ์การขนส่ง
                 
                 - ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เพราะการขาดความระมัดระวัง ขาดความรอบรู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
                 - ก่อใ้ห้เกิดอุปสรรคต่อการลงทุน ต้องตอบแทนบุคลากรทางด้านธุรกิจขนส่ง 


            การบริการการขนส่งผู้โดยสารมี 3 รูปแบบ คือ  
            1. การให้บริการขนส่งผู้โดยสารในตัวเมือง 
            ความพยายามในการขนส่งผู้โดยสารในชุมชน ซึ่งอาจเป็นเทศบาลเมืองต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม

            2. การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
            ความพยายามในการจัดการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง  
            ให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม

            3. การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ
            ความพยายามในการขนส่งผู้โดยสารใ้ห้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการขนส่งทางเครื่องบิน 90 % ทางเรือ ทางบกรถยนต์ และทางรถไฟน้อยที่สุด


            ประเภทของการขนส่งผู้โดยสาร มี 4 ประเภท คือ
            • การขนส่งด้วยรถยนต์
            • การขนส่งด้วยรถไฟ
            • การขนส่งด้วยเรือ
            • การขนส่งด้วยเครื่องบิน
             
                 ดังนั้น การขนส่งผู้โดยสารช่วยกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวอย่างสะดวก เกิดการลงทุนทางด้านการท่องเที่ยว ช่วยสร้างรายได้ในท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับกระบวนการขนส่ง



            อ้างอิงที่มา:

            http://logistics.arch56.com/?p=108
            http://www.phrae.mju.ac.th/faculty/Eco-tourism/guide2/airline/Business.html
            http://www.itbsthai.com/knowledge_detail.php?LID=1&ID=1