มาร์โค โปโล |
ในปี 1275 มาร์โค โปโลได้เข้าเฝ้ากุบไลข่าน กุบไลข่านทรงเอ็นดูมาร์โค โปโลเป็นพิเศษ ซึ่งขณะนั้นมาร์โค โปโล มีอายุ 21 ปี ทำให้มาร์โค โปโล ได้มีโอกาสเข้าทำงานรับใช้กุบไลข่านนานถึง 17 ปี ครอบครัวโปโลก็เริ่มวิตกกังวลถึงอนาคตของพวกตน เนื่องจากกุบไลข่านทรงชราภาพมากขึ้นแล้ว จึงเข้ากราบทูลกุบไลข่านขออนุญาติกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด แต่กุบไลข่านไม่ยอม จนในปี 1292 พระชายาของอาร์กุนข่านได้สิ้นพระชนม์ อาร์กุนข่านจึงได้ส่งฑูตมาขอให้กุบไลข่านส่งเจ้าหญิงแห่งมองโกลไปเป็นพระชายาองค์ใหม่ ครอบครัวโปโลจึงขออาสาพาเจ้าหญิงโคคาชิน ไปถวายแก่อาร์กุนข่าน กุบไลข่านจึงจำใจต้องอนุญาติ
การเดินทางในครั้งนี้ได้ใช้เส้นทางเรือ เดินทางผ่านเกาะญี่ปุ่น อาณาจักรจามปา เำกาะสุมาตรา เกาะนิโคบาร์ เกาะลังกา เข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย การเดินทางในครั้่งนี้ใช้เวลาเดินทางนานถึง 2 ปี ผู้โดยสารกว่า 600 คนเหลือชีวิตรอดเพียง 18 คน เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ พายุ และการปล้นของโจรสลัด เมื่อเดินทางถึงก็ได้ทราบว่าอาร์กุนข่านสิ้นพระชนม์แล้ว เจ้าหญิงโคคาชินจึงได้สมรสกับโอรสของอาร์กุนข่านแทน ในปี 1294 เมื่อกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ อาณาจักรมองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว และในปี 1368 มองโกลก็ได้ถูกขับออกจากประเทศจีน
ในปี 1295 จากการเดินทางรอนแรมทั้งทางบกและทางทะเลเป็นระยะเวลาเกือบ 3 ปี ครอบครัวโปโลก็เดินทางถึงบ้านเกิดเมืองเวนิส ในขณะนั้นมาร์โค โปโล มีอายุได้ 41 ปี หลังจากกลับถึงบ้านได้ไม่นาน มาร์โค โปโล ก็ได้ถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมในสงครามระหว่างเมืองเวนิสและเมืองเจนัว จนทำให้มาร์โค โปโล ถูกจับเป็นเชลยศึกในคุกของเมืองเจนัวเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ณ ที่นี้เอง มาร์โค โปโล ได้พบกับนักเขียนชาวเมืองปิซา ชื่อ Rustichello มาร์โค โปโล ได้เล่าเรื่องราวการเดินทาง และการใช้ชีวิตในประเทศจีนให้ฟัง และได้บันทึกเป็นหนังสือชื่อ "คำอธิบายเกี่ยวกับโลก" หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า "การเดินทางของมาร์โค โปโล" ในราวปี 1299 มาร์โค โปโลได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นนักโทษ และมาร์โค โปโลได้ถึงแก่กรรมในปี 1324 สิริรวมอายุได้ 70 ปี
นอกจากนี้มาร์โค โปโลนักเดินทางชาวอิตาลี ได้เป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเลไปถึงประเทศจีน และในตอนกลับประเทศเขาก็ได้ลงเรือที่เมืองเฉวียนโจวของมณฑลฮกเกี้ยนของจีนกลับถึงเวนิสซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา เส้นทางสายไหมทางทะเลได้เชื่อมจีนกับประเทศอารยธรรมที่สำคัญและแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลก ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจในเขตเหล่านี้ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "เส้นทางแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตก"
อ้างอิง :
http://www.midnightuniv.org/midnightuniv/AAA1.htm
http://www.bloggang.com
http://203.114.105.84/virtual/Physicals/sci19/www.jstp.org/talk8.htm
http://pinkmaya.mysquare.in.th